Q-Portal

Q Restaurant

มกอช. ได้จัดทำโครงการตรวจรับรองร้านอาหารวัตถุดิบปลอดภัยเลือกใช้สินค้า Q (Q Restaurant) ร่วมกับสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดขับเคลื่อนบูรณาการงานโครงการในส่วนภูมิภาค ตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน เพื่อส่งเสริมการบริโภคและการใช้วัตถุดิบคุณภาพที่มีการผลิตตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) และมาตรฐานหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีสำหรับการผลิต (GMP) เพื่อเพิ่มช่องทางจำหน่ายให้กับเกษตรกรหรือผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่มีความปลอดภัยเข้าสู่ร้านอาหารได้โดยตรงโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเข้าสู่ระบบฟาร์มมาตรฐานเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ในปี 2562 มกอช. ได้เริ่มมีการยกระดับร้านอาหาร Q Restaurant เป็นระดับ Premium โดยเป็นการยกระดับมาตรฐานร้านอาหารที่มีศักยภาพสูงให้เป็นกลุ่มร้านอาหารระดับพรีเมียม ซึ่งมีการใช้วัตถุดิบสินค้า Q จากแหล่งผลิตที่มีความปลอดภัยได้มาตรฐานให้เพิ่มมากขึ้น ร้านอาหาร Q Restaurant ระดับ Premium แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ (1) ร้านอาหารจานเดียว จะต้องใช้วัตถุดิบหลักในเมนูเป็นสินค้า Q จำนวน 1 ชนิดขึ้นไป และ (2) ร้านอาหารหลายเมนู จะต้องใช้วัตถุดิบสินค้า Q ในร้านไม่น้อยกว่า 10 ชนิดขึ้นไป ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดการซื้อขายและจำหน่ายสินค้าเกษตรปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งผู้บริโภคยังมีความมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารอีกด้วย

วัตถุประสงค์

1. เพื่อประชาสัมพันธ์ร้านอาหาร Q Restaurant ที่ใช้วัตถุดิบจากสินค้า Q ที่มีความปลอดภัยตามระบบการผลิต GAP ให้เป็นที่รู้จักของจังหวัด

2. เพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยอาหารในร้านอาหาร Q Restaurant แก่ผู้บริโภค

3. เพื่อสร้างจุดขายหรือภาพลักษณ์ที่ดีให้กับร้านอาหาร Q Restaurant

4. เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าที่มีความปลอดภัย และสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรในการผลิตสินค้าที่มีความปลอดภัยมากขึ้น

5. เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรที่รับรองตนเองว่าผลผลิตปลอดภัยเข้าสู่ร้านอาหาร Q Restaurant และได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคมากขึ้น

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้ประกอบการร้านอาหาร เกษตรกร ผู้บริโภค

การดำเนินงาน

1. การตรวจรับรองร้านอาหารวัตถุดิบปลอดภัยเลือกใช้สินค้า Q

2. การมอบป้ายสัญลักษณ์ ร้านอาหารวัตถุดิบปลอดภัยเลือกใช้สินค้า Q

3. การประชาสัมพันธ์ร้านอาหารวัตถุดิบปลอดภัยเลือกใช้สินค้า Q

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต (Output)

• ร้านอาหารที่ใช้วัตถุดิบที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัย สามารถใช้เป็นจุดขายของร้านได้

• ผู้บริโภคมั่นใจในคุณภาพอาหารที่บริโภคจากร้านอาหาร Q Restaurant

• เกษตรกรที่ผลิตสินค้ามีมาตรฐาน มีช่องทางจำหน่ายสินค้ามากขึ้น

ผลลัพธ์ (Outcome)

• สร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งระหว่างผู้ผลิตวัตถุดิบปลอดภัยและร้านอาหารที่ใส่ใจคุณภาพ

• เกษตรกรมีแหล่งจำหน่ายสินค้าเกษตรมาตรฐานที่ยั่งยืน

• สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรที่ได้มาตรฐาน

• ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพ

ผลกระทบ (Impact)

• ผู้บริโภคตระหนักถึงการบริโภคอาหารที่มีความปลอดภัย ใช้วัตถุดิบที่ได้มาตรฐาน

• สร้างภาพลักษณ์ให้แก่สินค้า Q ให้มีความน่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค

• สร้างแรงจูงใจให้กับเกษตรกรให้เข้าสู่กระบวนการผลิตสินค้าเกษตรที่ได้มาตรฐาน

ช่องทาง

Website : www.qrestaurant.acfs.go.th

iOS :

Android :

Q Modern Trade

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ได้ดำเนินโครงการตรวจรับรองสถานที่จำหน่ายสินค้า Q ประเภทโมเดิร์นเทรด (Modern Trade) ตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปัจจุบัน โดยได้จัดทำหลักเกณฑ์เงื่อนไขการตรวจรับรองสถานที่จำหน่ายสินค้า Q ประเภทโมเดิร์นเทรด เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติงานในการเสริมสร้างและพัฒนาการตรวจรับรองสถานที่จำหน่ายสินค้า Q ประเภทโมเดิร์นเทรดในพื้นที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดย มกอช. จะให้การรับรองสถานที่จำหน่ายสินค้า Q ประเภทโมเดิร์นเทรด (Modern Trade) และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์/รณรงค์ให้ผู้บริโภคได้รู้จักสินค้า Q และทราบข้อมูลแหล่งจำหน่ายสินค้า Q ประเภทโมเดิร์นเทรด/ห้างสรรพสินค้า ซึ่งผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าปลอดภัยที่ผ่านการตรวจสอบรับรองตามมาตรฐานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำให้เพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของสถานที่จำหน่ายสินค้า Q ให้เป็นไปตามมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค

2. เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคเข้าถึงสถานที่จำหน่ายสินค้า Q

กลุ่มเป้าหมาย

เกษตรกร สถานที่จำหน่ายสินค้า Q ประเภทโมเดิร์นเทรด

การดำเนินงาน

ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ดังนี้

1) กิจกรรมการตรวจประเมินและให้การรับรองสถานที่จำหน่ายสินค้า Q ประเภทโมเดิร์นเทรด

2) กิจกรรมประชาสัมพันธ์สถานที่จำหน่ายสินค้า Q ประเภทโมเดิร์นเทรด เพื่อให้สินค้า Q เป็นที่รู้จักมากขึ้น

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต (Output)

1) ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสถานที่จำหน่ายสินค้า Q

2) เกษตรกรที่ผลิตตามมาตรฐาน มกษ. และสินค้าได้รับเครื่องหมาย Q มีช่องทางการจำหน่ายเพิ่มขึ้น

ผลลัพธ์ (Outcome)

1) สินค้า Q ได้รับการรู้จักและยอมรับจากผู้บริโภค

2) สร้างภาพลักษณ์ให้แก่สินค้า Q ให้มีความน่าเชื่อถือและความยั่งยืน

ผลกระทบ (Impact)

1) เกิดความเชื่อมโยงของแหล่งผลิตและสถานที่จำหน่ายสินค้า Q

2) ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการสนับสนุนสินค้า Q

3) เกิดการขยายตัวของเกษตรกรที่เข้าสู่การผลิตตามมาตรฐาน มกษ. และสินค้าได้รับเครื่องหมาย Q เพิ่มขึ้น

ผลงานที่ผ่านมา

มกอช. ได้ตรวจประเมินสาขาของ Modern Trade ตามข้อกำหนดในหลักเกณฑ์การตรวจรับรองสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรภายใต้เครื่องหมาย Q (Q Modern Trade) แล้วทั้งสิ้น 5 บริษัท ดังนี้

1) บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด (Tops) จำนวน 679 สาขา

2) บริษัท เบทาโกรเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด จำนวน 234 สาขา

3) บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 203 สาขา

4) บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) (Makro) จำนวน 155 สาขา

5) บริษัท เดอะมอลล์กรุ๊ป จำกัด จำนวน 16 สาขา

Q Market

มกอช. ได้สนับสนุนโครงการตรวจรับรองแหล่งจำหน่ายสินค้าเกษตรคุณภาพมาตรฐานอาหารปลอดภัย ระดับจังหวัดของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามแผนแม่บทชุมชนระดับจังหวัด ภายใต้โครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนตามยุทธศาสตร์ความปลอดภัยด้านอาหาร โดยร่วมกับสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด ในกิจกรรมการสร้างแหล่งจำหน่ายสินค้าเกษตรคุณภาพมาตรฐานอาหารปลอดภัย ตั้งแต่ปี 2556 จนถึงปัจจุบัน เพื่อให้ประชาชนที่สนใจสามารถทราบแหล่งจำหน่ายและหาซื้อสินค้า Q ได้อย่างสะดวก

วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมสถานที่จำหน่ายสินค้า Q ให้เป็นที่รู้จักและยยอมรับของผู้บริโภค

2. เพื่อส่งเสริมแหล่งผลิตสินค้า Q ในพื้นที่ ให้มีศักยภาพในการเข้าสู่ช่องทางจำหน่ายต่างๆ

3. เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคเข้าถึงสถานที่จำหน่ายและแหล่งผลิตสินค้า Q

กลุ่มเป้าหมาย

เกษตรกร ผู้บริโภค ผู้ประกอบการ

การดำเนินงาน

1. การตรวจประเมินและให้การรับรองแผงสินค้า Q ในสถานที่จำหน่ายสินค้า Q ประเภทตลาดสด

2. การประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคทราบถึงแหล่งผลิตและสถานที่จำหน่ายสินค้า Q ในพื้นที่ผ่านสื่อต่างๆ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต (Output)

• ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสถานที่จำหน่ายสินค้า Q ในพื้นที่ได้

• เกษตรกรที่ผลิตตามมาตรฐาน และสินค้าที่ได้รับเครื่องหมาย Q มีช่องทางการจำหน่ายในพื้นที่

ผลลัพธ์ (Outcome)

• สินค้า Q ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคในพื้นที่

• สร้างภาพลักษณ์ให้แก่สินค้า Q ให้มีความน่าเชื่อถือและความยั่งยืน

ผลกระทบ (Impact)

• เกิดความเชื่อมโยงของแหล่งผลิตและสถานที่จำหน่ายสินค้า Q

• ผู้บริโภคในพื้นที่มีส่วนร่วมในการสนับสนุนสินค้าและผลิตผล Q ในพื้นที่

• เกิดการขยายตัวของเกษตรกรที่เข้าสู่การผลิตตามมาตรฐาน มกษ. และสินค้าได้รับเครื่องหมาย Q เพิ่มขึ้น

ข้อมูลเพิ่มเติม

Website : https://qmarket.acfs.go.th

Q Canteen

โครงการส่งเสริมให้มีการดำเนินงานตามโรงเรียนอาหารปลอดภัย (Q Canteen) ซึ่งประกอบด้วย กิจกรรม 3 ส่วน ได้แก่ การส่งเสริมให้โรงเรียนดำเนินการจัดตั้งโรงอาหารวัตถุดิบปลอดภัยในโรงเรียน การส่งเสริมให้โรงเรียนนำหลักสูตรอาหารศึกษาไปประยุกต์ใช้กับหลักสูตรการเรียนการสอน และการส่งเสริมให้โรงเรียนจัดทำโภชนาการกลางโดยเลือกใช้สินค้าเกษตรปลอดภัยเป็นวัตถุดิบในเมนูอาหารกลางวันที่ถูกหลักโภชนาการ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมให้มีการจัดตั้งโรงอาหารวัตถุดิบปลอดภัยในโรงเรียน และตระหนักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนผ่านอาหารที่บริโภค

2. เพื่อสร้างตลาดสินค้าเกษตรมาตรฐาน GAP สินค้าเกษตรปลอดภัย และสินค้าเกษตรอินทรีย์

3. เพื่อส่งเสริมหลักสูตรอาหารศึกษาให้เป็นหลักสูตรเสริมการเรียนการสอนของสถานศึกษาต่างๆ

กลุ่มเป้าหมาย

โรงเรียนเอกชน และรัฐบาลในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา และปริมณฑล รวมถึงจังหวัดอื่นๆ ที่สนใจ

การดำเนินการ

1. ประชาสัมพันธ์และเชิญชวนโรงเรียนเข้าร่วมโครงการโรงเรียนอาหารปลอดภัย (Q Canteen)

2. สำรวจความพร้อมโรงเรียนที่ยื่นใบสมัคร

3. ฝึกอบรมหลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติตามโครงการโรงเรียนอาหารปลอดภัย (Q Canteen)

4. ตรวจรับรองโรงเรียนอาหารปลอดภัย (Q Canteen)

5. ประชุมตัดสินใจให้การรับรองโรงเรียนอาหารปลอดภัย (Q Canteen)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต (Output)

• เกิดการจัดตั้งโรงอาหารวัตถุดิบปลอดภัย

• ครูและนักเรียนมีความรู้เรื่องมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย

• สร้างตลาดสินค้าเกษตรตามมาตรฐาน GAP สินค้าเกษตรปลอดภัย

ผลลัพธ์ (Outcome)

• เกษตรกรและผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารให้มีคุณภาพมาตรฐานเพิ่มมากขึ้น

• ครูและนักเรียนมีคความตระหนักรู้ด้านการบริโภคอาหารปลอดภัย

• เกิดตลาดรองรับสินค้าเกษตรและอาหารที่มีคุณภาพปลอดภัย

ผลกระทบ (Impact)

• การบริโภคสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัยภายในประเทศมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น

• ประชาชนตระหนักรู้ถึงความสำคัญของความปลอดภัยและการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีผ่านอาหารที่บริโภค

โรงเรียนที่ได้รับการรับรองตามโครงการโรงเรียนอาหารปลอดภัย (Q Canteen)

โรงเรียนภาค จำนวน 10 แห่ง (นักเรียน จำนวน 5,859 ราย)

1) โรงเรียนจารุวัฒนานุกูล กรุงเทพมหานคร

2) โรงเรียนเด็กสากลนิมิตใหม่ กรุงเทพมหานคร

3) โรงเรียนประสาทวิทยานนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

4) โรงเรียนเล็กโกเมศอนุสรณ์ จังหวัดนนทบุรี

5) โรงเรียนเทพพิทักษ์ จังหวัดนนทบุรี

6) โรงเรียนมณียา จังหวัดนนทบุรี

7) โรงเรียนบีคอนเฮ้าส์แย้มสอาดรังสิต จังหวัดปทุมธานี

8) โรงเรียนผ่องสุวรรณวิทยา จังหวัดปทุมธานี

9) โรงเรียนประสานมิตร จังหวัดปทุมธานี

10) โรงเรียนปัณณวิชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

โรงเรียนภาครัฐบาล จำนวน 2 แห่ง (นักเรียน จำนวน 330 ราย)

1) โรงเรียนโนนกอกวิทยา จังหวัดชัยภูมิ

2) โรงเรียนห้วยบงเหนือ จังหวัดชัยภูมิ

Q Hospital

มกอช. ร่วมกับ สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย จัดทำ คู่มือการปฏิบัติงาน (Standards Operating Procedure: SOP) การจัดหาและรับซื้อสินค้าเกษตรตามมาตรฐาน (มกษ.) สำหรับโรงพยาบาล เพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรให้ได้คุณภาพมาตรฐาน รวมถึงเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดหาและรับซื้อวัตถุดิบไปใช้ประกอบอาหารสำหรับผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาล

คู่มือการปฏิบัติงาน (SOP) การจัดหาและรับซื้อสินค้าเกษตรตามมาตรฐาน (มกษ.) สำหรับโรงพยาบาล มีหัวข้อสำคัญดังนี้

1) แนวทางการจัดหาและรับซื้อวัตถุดิบสินค้าเกษตรสู่โรงพยาบาลอาหารปลอดภัย

• พระราชบัญญัติ

• ระเบียบที่เกี่ยวข้อง

2) เกณฑ์การรับซื้อ/คัดเลือกวัตถุดิบด้านคุณภาพ (Quality)

• คุณลักษณะทางกายภาย คุณลักษณะทางเคมี จุลชีววิทยา คุณลักษณะทางประสาทสัมผัส โดยครอบคลุมวัตถุดิบประเภทพืช 71 ชนิด, ประเภทปศุสัตว์ 27 ชนิด และประเภทประมง 27 ชนิด

3) แนวทางปฏิบัติการตรวจรับ/ตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบในการผลิตอาหารของโรงพยาบาล

• ชนิดและปริมาณของวัตถุดิบ

• เกณฑ์การคัดเลือกและตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบ

• มาตรการจัดการกรณีพบวัตถุดิบที่ไม่มีคุณภาพ

• การเก็บรักษาวัตถุดิบ

• การเบิกใช้วัตถุอย่างเหมาะสม

4) คุณสมบัติของคณะกรรมการตรวจรับวัตถุดิบ

• คุณสมบัติเบื้องต้น ความรู้ และทักษะในการประเมินคุณภาพ

• องค์ประกอบของการตรวจรับวัตถุดิบ

• ขั้นตอนการตรวจรับวัตถุดิบ

5) การประเมินด้านคุณภาพ

• การทดสอบสารเคมีและสารปนเปื้นในอาหาร

• การคัดเลือกผลิตภัณฑ์ของบริษัท หรือโรงงานที่ผ่านการับรองมาตรฐาน (GMP) เช่น มอก. อย.

• การประเมินด้านการส่งมอบ หีบห่อ การขนส่ง

• อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บรักษา

• สุขลักษณะของพนักงาน และรถขนส่ง

6) การตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัย และสุขลักษณะ (Safety)

• การตรวจสอบสารปนเปื้อน สารพิษตกค้าง วิธีการสุ่มตัวอย่างและการวิเคราะห์ รวมถึงมาตรการและขั้นตอนการดำเนินการเมื่อตรวจพบ

7) การตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability)

• สามาถตรวจสอบข้อมูลได้ตั้งแต่ระดับฟาร์มถึงโรงพยาบาล

8) แบบฟอร์ที่เกี่ยวข้อง

• แบบฟอร์มการขายผลผลิต

• แบบฟอร์มการส่งมอบวัตถุดิบ

• แบบประเมินผู้ขาย

• ใบรายงานผลการประเมินผู้รับจัดหา

• แบบฟอร์มตารางการตรวจรับวัตถุดิบ

9) ตำรับอาหารในโรงพยาบาล หรือรายการอาหารหมุนเวียน

• รายการอาหาร

• วัตถุดิบที่ใช้

• ปริมาณต่อ 1 คนรับประทาน

• วิธีการประกอบอาหาร