การจัดพิมพ์และแสดงเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน และดาวน์โหลดเครื่องหมาย

4 Oct 2567
1,032

กฏกระทรวง เรื่อง กำหนดลักษณะ การใช้ และการแสดงเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสำหรับสินค้าเกษตร พ.ศ. 2563 ได้กำหนดวิธีการแสดงเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน ดังนี้

ให้แสดงเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสำหรับสินค้าเกษตรให้ เห็นได้ง่ายและชัดเจน ไว้ที่

(1) สินค้าเกษตร และจะแสดงไว้ที่สิ่งบรรจุ หีบห่อ สิ่งหุ้มห่อ สิ่งผูกมัด ป้ายของสินค้า สถานประกอบการ หรือเอกสารโฆษณาประชาสัมพันธ์อีกด้วยก็ได้

หรือ

(2) สิ่งบรรจุ หีบห่อ สิ่งหุ้มห่อ สิ่งผูกมัด หรือป้ายของสินค้า ในกรณีที่ไม่อาจแสดงหรือไม่สะดวกที่จะแสดงเครื่องหมายรับรองมาตรฐานไว้ที่สินค้าเกษตรได้

การแสดงหรือใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสำหรับสินค้าเกษตรเกี่ยวกับกระบวนการจัดการการผลิต
ให้ระบุชื่อเต็มหรือชื่อย่อของมาตรฐานไว้ให้เห็นได้ง่ายและชัดเจน และให้แสดงไว้ที่สถานประกอบการ เอกสารกำกับสินค้า หรือเอกสารโฆษณาประชาสัมพันธ์

การแสดงหรือใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐาน ให้ระบุ

(1) ชื่อผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน ระบุเป็นอักษร กษ ตามด้วยหมายเลขที่ มกอช. กำหนด ทั้งนี้หากเป็นรหัสเพื่อการส่งออกจะระบุรหัสเป็นอักษร AC แทนอักษร กษ ก็ได้

กรณีสินค้าเกษตรที่นำเข้าจากต่างประเทศ ให้ระบุรหัสเป็นอักษรภาษาอังกฤษตามชื่อประเทศส่งออกที่เป็นผู้ตรวจสอบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรนั้น ตามมาตรฐานไอเอสโอ 3166 (รายละเอียดตามภาคผนวก ข)

(2) มาตรฐานสินค้าเกษตรที่ให้การรับรอง ให้ระบุ ตามหมายเลขมาตรฐานสินค้าเกษตรที่ให้การรับรอง โดยไม่ต้องระบุปีที่กำหนดมาตรฐาน

(3) ชื่อผู้ได้รับใบรับรอง ให้ระบุ รหัสเป็นหมายเลขตามที่ มกอช. กำหนด

(4) ในกรณีที่สินค้าเกษตรที่ได้รับใบรับรองตามมาตรฐานสินค้าเกษตรตั้งแต่สองมาตรฐานขึ้นไป และประสงค์จะแสดงเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน อาจระบุรายละเอียดรหัสใบรับรองทั้งหมดไว้ ใต้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานแบบเดียวกันก็ได้ 

 กษ AA – BBBB -CC-DDD-EEEEEE   XXX

[1]           หมายถึง  ชื่อผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน

[2]           หมายถึง   มาตรฐานสินค้าเกษตรที่ให้การรับรอง

[3]           หมายถึง  ชื่อผู้ได้รับใบรับรอง        

ชื่อผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน

มาตรฐานสินค้าเกษตรที่ให้การรับรอง

ชื่อผู้ได้รับการรับรอง

ชื่อย่อมาตรฐานระบบการผลิต

รหัสจังหวัด

รหัสชนิดสินค้า

รหัสแปลง
ที่ได้รับการรับรอง

กษ AA

BBBB

CC

DDD

EEEEEE

XXX

กษ AA  หมายถึง  หมายเลขผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐานที่ มกอช. กำหนด
กรณี ส่งออกให้ใช้ AC แทน กษ ก็ได้
กรณี นำเข้า ให้ใช้รหัสประเทศ 2 ตัวอักษร ตามมาตรฐานไอเอสโอ3166 แทน กษ ดูรายละเอียดใน ภาคผนวก ข
สำหรับรหัสหมายเลข AA ให้ดูรายละเอียดรหัสมาตรฐานสินค้าเกษตรใน ภาคผนวก ค

BBBB   หมายถึง  รหัส

สมาตรฐานสินค้าเกษตรที่ให้การรับรอง

CC      หมายถึง  รหัสจังหวัด ตามแหล่งผลิตที่ได้รับการรับรอง หรือสถานที่ทำการของผู้นำเข้า

DDD    หมายถึง  รหัสชนิดสินค้า

EEEEEE หมายถึง  รหัสแปลงที่ได้รับการรับรอง ซึ่งจะแบ่งตามชนิดสินค้า จังหวัด มาตรฐาน และชื่อผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน

XXX    หมายถึง  ชื่อย่อของมาตรฐานกระบวนการจัดการหรือระบบการผลิตสินค้าเกษตร

หลักเกณฑ์การใช้ชื่อย่อของมาตรฐานกระบวนการจัดการหรือระบบการผลิตสินค้าเกษตร

GAP               ใช้กับมาตรฐานเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี
ORGANIC    ใช้กับมาตรฐานเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์
GMP              ใช้กับมาตรฐานเกี่ยวกับการปฏิบัติที่ดีสำหรับกระบวนการผลิต และการปฏิบัติที่ดีสำหรับการคัดบรรจุ รวมทั้งมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์การปฏิบัติ: หลักการทั่วไปเกี่ยวกับสุขลักษณะอาหาร (มกษ. 9023) และมาตรฐานที่เกี่ยวกับการปฏิบัติที่ดีด้านสุขลักษณะอื่นๆ
GFP               ใช้กับมาตรฐานเกี่ยวกับหลักปฏิบัติหรือการปฏิบัติที่ดีสำหรับกระบวนการรมสินค้าเกษตรด้วยสารเคมี เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เมทิลโบรไมด์หรือฟอสฟีน เป็นต้น
HACCP         ใช้กับมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม

ไม่ต้องใช้ชื่อย่อ  เมื่อแสดงรหัสสำหรับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ (product certification)

วิธีการแสดงเครื่องหมายรับรองที่ มองเห็นได้ง่ายและชัดเจน

ถึงแม้กฎกระทรวง กำหนดลักษณะของเครื่องหมาย การใช้เครื่องหมายและการแสดงเครื่องหมายรับรองมาตรฐานกับสินค้าเกษตร ได้ระบุให้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานจะมีขนาดเท่าใดก็ได้ แต่จำเป็นต้องแสดงให้เห็นได้ง่ายและชัดเจน จึงมีข้อแนะนำในการจัดพิมพ์เครื่องหมายรับรองมาตรฐานไว้ดังนี้

 

---------------------------------------------------------------------

ดาวน์โหลดไฟล์เครื่องหมายรับรองมาตรฐานบังคับ ดาวน์โหลดไฟล์เครื่องหมายรับรองมาตรฐานทั่วไป

ดาวน์โหลดไฟล์เครื่องหมายรับรองมาตรฐานอินทรีย์

คำแนะนำการดาวน์โหลดไฟล์เครื่องหมายรับรองมาตรฐาน

  1. ไฟล์ที่จัดทำขึ้นของเครื่องหมายแต่ละแบบ มีทั้งนามสกุล .jpg .png .ai ที่มีความละเอียดสูง ซึ่งรวมไว้ในการบีบอัดด้วยโปรแกรม .rar
  2. ผู้ใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์ PC หรือ Notebook จะต้องมีโปรแกรมที่สามารถเปิด ไฟล์ .rar ได้
  3. ผู้ใช้งานผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ Tablet สามารถเลือก เซฟไฟล์ใน memory ของเครื่อง
  4. กรณีต้องการเฉพาะภาพตัวอย่าง หรืองานพิมพ์ประกอบเอกสารทั่วไป สามารถเซฟภาพจากหน้าเว็บไซต์ได้เลย
  5. กรณีต้องการส่งภาพให้โรงพิมพ์ แต่ไม่มีโปรแกรมสำหรับเปิดไฟล์ .rar สามารถส่งลิงก์ของไฟล์ให้โรงพิมพ์แทน