มกอช. เข้าร่วมการประชุมคณะอนุกรรมการด้านมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย (6th ASEAN-India Trade in Goods Agreement Sub-Committee on Sanitary and Phytosanitary Measures – AITIGA SC-SPS) ณ Vanijya Bhawan กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย

11 Apr 2568
249
มกอช. เข้าร่วมการประชุมคณะอนุกรรมการด้านมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย (6th ASEAN-India Trade in Goods Agreement Sub-Committee on Sanitary and Phytosanitary Measures – AITIGA SC-SPS) ณ Vanijya Bhawan กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย

                มกอช. ร่วมยกระดับการเจรจาข้อบทมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) ภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน-อินเดีย เสริมสร้างความร่วมมือการค้าการเกษตรในภูมิภาค ในวันที่ 8 – 9 เมษายน 2568 นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ได้มอบหมายให้นางสาวกุลวดี วิวัฒสวัสดินนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย พร้อมด้วยผู้แทนจากกองนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร เข้าร่วมการประชุมคณะอนุกรรมการด้านมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย (6th ASEAN-India Trade in Goods Agreement Sub-Committee on Sanitary and Phytosanitary Measures – AITIGA SC-SPS) ณ Vanijya Bhawan กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย การประชุมในครั้งนี้นับเป็นอีกก้าวที่สำคัญของอาเซียนและอินเดียในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการค้าสินค้าเกษตร โดยมีประเทศสมาชิกอาเซียนหลายประเทศเดินทางเข้าร่วมประชุมแบบพบหน้ากันอย่างพร้อมเพรียง ทำให้การหารือมีความก้าวหน้าอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในประเด็นการเจรจาขข้อบทความตกลง SPS (SPS Chapter)ที่แต่ละฝ่ายต่างแสดงออกถึงความพร้อมในการปรับปรุงถ้อยคำให้มีความทันสมัยและเอื้อต่อการค้าอย่างแท้จริง ข้อบท SPS ที่ทั้งสองฝ่ายหารือร่วมกันเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าสินค้า ประกอบด้วย ความโปร่งใส (Transparency) ที่ให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการแจ้งเตือนมาตรการและกฎระเบียบล่วงหน้า การออกมาตรการและกฎระเบียบการนำเข้า-ส่งออกสินค้าที่อยู่บนหลักเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ (Risk Analysis) การตรวจนำเข้า (Import check) สินค้าเกษตรและอาหารโดยอิงบนหลักความเสี่ยง การยอมรับความเท่าเทียม (Equivalence) ของมาตรการและระบบการควบคุมความปลอดภัยสินค้าเกษตรและอาหารที่แตกต่างหากมาตรการนั้นที่จะสามารถควบคุมความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหารส่งออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการกำหนดหน่วยประสานงานหลัก (Contact Points) และการจัดตั้งคณะกรรมการด้านมาตรการสุขอนามัยสุขอนามัยพืช(Committee on SPS) เพื่อเป็นกลไกในการปรึกษาหารือและประสานงานระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ผลักดันให้มีการประชุมหารือระดับเจ้าหน้าที่ทางเทคนิคในประเด็นคงค้าง (SPS Implementation Issues) เพื่อผลักดันการเปิดตลาดและแก้ไขปัญหาการค้าสินค้าเกษตรและอาหารคงค้างระหว่างกันอินเดีย ถือเป็นประเทศคู่ค้าที่มีศักยภาพสูงและเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจหลักของภูมิภาค มีบทบาทสำคัญในการสร้างความหลากหลายของตลาดและลดการพึ่งพาตลาดหลักในช่วงที่เกิดความตึงเครียดทางการค้าในระดับโลก ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงด้านเศรษฐกิจให้กับอาเซียนและประเทศไทยในระยะยาว