สำนักกำหนดมาตรฐาน (สกม.) ได้จัดทำระเบียบปฏิบัติสำหรับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การผลิตข้าวยั่งยืน เพื่อใช้เป็นแนวทางให้หน่วยรับรอง (Certification Body: CB) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้หน่วยรับรองสามารถดำเนินการตรวจประเมินและให้การรับรองแก่เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร หรือผู้ประกอบการได้อย่างสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยใบรับรองที่ออกให้แสดงถึงการปฏิบัติที่ดีตามวัตถุประสงค์และข้อกำหนดของมาตรฐานสินค้าเกษตรที่มีขอบข่ายเกี่ยวข้องกับการผลิตข้าวยั่งยืน เช่น มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง ข้าวยั่งยืน (มกษ. 4408)
ระเบียบปฏิบัติฉบับนี้จัดทำขึ้นตามหลักการของ ISO/IEC 17065 พร้อมทั้งปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ และข้อกำหนดในมกษ. 4408 ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืนในมิติสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ระเบียบปฏิบัติฉบับนี้ได้ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้มั่นใจว่าเนื้อหามีความครบถ้วน และสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระเบียบปฏิบัติสำหรับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรฉบับนี้ ประกอบด้วย 3 ส่วนและ 10 ภาคผนวก ดังนี้
ส่วนที่ 1 | วัตถุประสงค์และขอบข่าย เนื้อหาประกอบด้วย : |
1. วัตถุประสงค์ของระเบียบปฏิบัติสำหรับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร 2. ขอบข่าย |
|
ส่วนที่ 2 | ข้อกำหนดสำหรับผู้ขอการรับรองหรือผู้ได้รับการรับรอง เนื้อหาประกอบด้วย : |
1. ข้อกำหนดทั่วไป 2. ประเภทผู้ขอการรับรอง 3. สิทธิและหน้าที่ของผู้ขอการรับรองหรือผู้ได้รับการรับรอง 4. คุณสมบัติของผู้ขอการรับรอง 5. การขอรับการตรวจประเมินจากหน่วยรับรอง 6. การขยายหรือลดขอบข่ายการรับรอง 7. สถานะการรับรอง 8. การขอโอนย้ายหน่วยรับรอง 9. การใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและการกล่าวอ้าง |
|
ส่วนที่ 3 | ข้อกำหนดสำหรับหน่วยรับรอง เนื้อหาประกอบด้วย : |
1. ข้อกำหนดทั่วไป 2. คุณสมบัติของผู้ตรวจประเมิน หัวหน้าผู้ตรวจประเมิน และผู้เชี่ยวชาญ 3. หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ตรวจประเมินและหัวหน้าผู้ตรวจประเมิน 4. กระบวนการตรวจประเมิน 5. การลดขอบข่าย การพักใช้ การยกเลิก และการเพิกถอนการรับรอง 6. การร้องเรียนและการอุทธรณ์ 7. สถานะการรับรอง 8. การดำเนินการในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ รวมถึงการขยายขอบข่าย 9. ช่วงเวลาปรับเปลี่ยน 10. การชักตัวอย่างเพื่อการวิเคราะห์ 11. การตรวจประเมินกรณีพิเศษ 12. การเผยแพร่ข้อมูลและการสื่อสาร 13. ค่าบริการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร |
ภาคผนวก ประกอบด้วย :
ภาคผนวก ก | หน่วยงานที่ให้ข้อเสนอแนะในการจัดทำระเบียบปฏิบัติสำหรับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การผลิตข้าวยั่งยืน |
ภาคผนวก ข | ข้อมูลและเอกสารประกอบการยื่นคำขอการรับรอง |
ภาคผนวก ค | ระบบควบคุมภายใน (Internal Control System; ICS) |
ภาคผนวก ง | หน้าที่ความรับผิดชอบและคุณสมบัติของผู้ทำหน้าที่ประเมินระบบควบคุมภายในและคณะกรรมการรับรองของผู้ขอการรับรองแบบกลุ่ม และแบบหลายสาขาหรือหลายพื้นที่ |
ภาคผนวก จ | แนวทางการพิจารณาความเสี่ยง ประเภทของการตรวจวิเคราะห์และวิธีการชักตัวอย่าง |
ภาคผนวก ฉ | การกำหนดจำนวนสมาชิก สาขา หรือพื้นที่ และระยะเวลาที่ต้องตรวจประเมิน |
ภาคผนวก ช | คุณสมบัติของผู้ตรวจประเมิน หัวหน้าผู้ตรวจประเมิน ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค และหลักเกณฑ์การเลือก |
ภาคผนวก ซ | เกณฑ์การตัดสินให้การรับรองตาม มกษ. 4408 และวิธีการคิดคะแนน |
ภาคผนวก ฌ | รายการตรวจประเมินตามมกษ. 4408 และระบบควบคุมภายใน |
ภาคผนวก ญ | การจัดการห่วงโซ่การคุ้มครอง และรายการการตรวจประเมิน |
วันที่ประกาศ : | - |
---|---|
วันที่มีผลบังคับใช้ : | - |
ไฟล์ประกาศ : |