การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล และ ห่วงโซ่การคุ้มครอง : ผลิตภัณฑ์กุ้งทะเลจากการเพาะเลี้ยงอย่างยั่งยืน

สำนักกำหนดมาตรฐาน (สกม.) จัดทำระเบียบปฏิบัติสำหรับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล และห่วงโซ่การคุ้มครอง : ผลิตภัณฑ์กุ้งทะเลจากการเพาะเลี้ยงอย่างยั่งยืน เพื่อให้เกษตรกร ผู้ประกอบการ หน่วยรับรอง (Certification Body: CB) หน่วยรับรองระบบงาน (Accreditation Body: AB) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำไปเป็นหลักปฏิบัติในการให้การรับรองในระดับฟาร์มตามมาตรฐานสินค้าเกษตร เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่าหน่วยรับรองจะสามารถตรวจประเมินให้การรับรองแก่ผู้เกษตรกรในแนวทางเดียวกันตามมาตรฐานภายใต้หลักเกณฑ์การรับรองมาตรฐานฉบับนี้ ซึ่งในการจัดทำหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ดำเนินการตามหลักการของ ISO/IEC 17065 ฉบับปัจจุบัน และตามขั้นตอนและกระบวนการจัดทำระเบียบปฏิบัติสำหรับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรตามที่ระบุในมาตรฐาน ISO/IEC 17067 รวมถึง Global Sustainable Seafood Initiative (GSSI) Benchmark Tool และเพิ่มเติมเนื้อหาให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศและมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล (มกษ. 7401) และมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง ห่วงโซ่การคุ้มครอง : ผลิตภัณฑ์กุ้งทะเลจากการเพาะเลี้ยงอย่างยั่งยืน (มกษ. 9066) บนหลักการและพื้นฐานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มีความสมดุลของสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องสำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล ห่วงโซ่การคุ้มครองผลิตภัณฑ์กุ้งทะเล และผู้มีส่วนได้เสียต่อการนำระเบียบปฏิบัติสำหรับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรฉบับนี้ไปใช้ในการรับรอง

ระเบียบปฏิบัติสำหรับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรฉบับนี้ ประกอบด้วย 5 ส่วนและ 8 ภาคผนวก ดังนี้

ส่วนที่ 1 วัตถุประสงค์และขอบข่าย เนื้อหาประกอบด้วย :
  1. วัตถุประสงค์ของระเบียบปฏิบัติสำหรับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร
2. ขอบข่ายสำหรับการให้การรับรอง
ส่วนที่ 2 ข้อกำหนดสำหรับหน่วยกำหนดมาตรฐานและจัดทำระเบียบปฏิบัติสำหรับการรับรองมาตรฐาน เนื้อหาประกอบด้วย :
  ข้อกำหนดทั่วไปสำหรับหน่วยกำหนดระเบียบปฏิบัติสำหรับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร (Scheme Owner; SO) และข้อกำหนดที่จะให้ผู้เกี่ยวข้องกับการให้การรับรอง มกษ. นำไปปฏิบัติสำหรับการรับรอง มกษ. 7401 และ มกษ. 9066
ส่วนที่ 3 ข้อกำหนดสำหรับผู้ขอการรับรองหรือผู้ได้รับการรับรอง เนื้อหาประกอบด้วย :
  1. ข้อกำหนดทั่วไป
2. ประเภทของผู้ขอการรับรอง
3. สิทธิและหน้าที่ของผู้ขอการรับรองหรือผู้ได้รับการรับรอง
4. คุณสมบัติของผู้ขอการรับรอง
5. การขอรับการตรวจประเมินจากหน่วยรับรอง
6. การขยายหรือลดขอบข่ายการรับรอง
7. สถานะของการรับรอง
8. การขอโอนย้ายหน่วยรับรอง
9. การกล่าวอ้างและการใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร
ส่วนที่ 4 ข้อกำหนดสำหรับหน่วยรับรอง เนื้อหาประกอบด้วย :
  1. ข้อกำหนดทั่วไป
2. คุณสมบัติของผู้ตรวจประเมิน หัวหน้าผู้ตรวจประเมิน และผู้เชี่ยวชาญ
3. หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ตรวจประเมินและหัวหน้าผู้ตรวจประเมิน
4. กระบวนการตรวจประเมิน
5. การลดขอบข่าย การพักใช้ การยกเลิก และการเพิกถอนการรับรอง
6. การร้องเรียนและการอุทธรณ์
7. สถานะการรับรอง
8. การดำเนินการในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
9. ช่วงเวลาปรับเปลี่ยน
10. การชักตัวอย่างเพื่อการวิเคราะห์
11. การตรวจประเมินกรณีพิเศษ
12. การเผยแพร่ข้อมูลและการสื่อสาร
13. ค่าบริการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร
ส่วนที่ 5 ข้อกำหนดสำหรับหน่วยรับรองระบบงาน เนื้อหาประกอบด้วย :
  1. ข้อกำหนดทั่วไป
2. คุณสมบัติของหน่วยรับรองระบบงาน
3. เงื่อนไขสำหรับหน่วยรับรองระบบงาน
4. การให้การรับรองระบบงาน
5. ความรู้ความสามารถ

ภาคผนวก ประกอบด้วย :

ภาคผนวก ก หน่วยงานที่ให้ข้อเสนอแนะในการจัดทำร่างระเบียบปฏิบัติสำหรับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล
ภาคผนวก ข ข้อมูลและเอกสารประกอบการยื่นคำขอการรับรอง
ภาคผนวก ค ระบบควบคุมภายใน (Internal Control System; ICS)
ภาคผนวก ง ตัวอย่างรายการตรวจประเมินตามมาตรฐานสินค้าเกษตร
ภาคผนวก จ หน้าที่ความรับผิดชอบและคุณสมบัติของผู้ตรวจประเมินภายในและคณะกรรมการรับรองของผู้ขอการรับรองแบบกลุ่มและแบบที่มีหลายสาขาหรือหลายพื้นที่
ภาคผนวก ฉ แนวทางการพิจารณาความเสี่ยง ประเภทของการวิเคราะห์ และวิธีการชักตัวอย่าง
ภาคผนวก ช การกำหนดจำนวนสมาชิกที่ต้องตรวจประเมิน
ภาคผนวก ซ คุณสมบัติของผู้ตรวจประเมิน หัวหน้าผู้ตรวจประเมิน ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค และหลักเกณฑ์การเลือก

เอกสารแนบ :

ประกาศ :
วันที่ประกาศ :30 May 2567
วันที่มีผลบังคับใช้ :30 May 2567
ไฟล์ประกาศ :

ขั้นตอนการจัดทำระเบียบปฏิบัติฯ
ขั้นตอน
1
2
3
4
5
6
7
ขั้นที่ 7 ประกาศใช้

คณะอนุกรรมการพิจารณาระเบียบปฏิบัติสำหรับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร
ขอบข่ายของมาตรฐานสินค้าเกษตรที่ใช้ระเบียบปฏิบัติฯ นี้ ในการรับรอง