พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 กำหนดให้ผู้ผลิตที่ขอรับการตรวจรับรองตามมาตรฐานสำหรับสินค้าเกษตรต้องขอรับการตรวจสอบและได้รับใบรับรองจากผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐานที่ได้รับใบอนุญาตให้ตรวจสอบและรับรองมาตรฐานจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานกับสินค้าเกษตรที่ได้รับใบรับรอง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคได้ มกอช. ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบด้านการกำหนดมาตรฐานตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 จึงได้จัดทำหลักเกณฑ์การรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและจัดทำเป็นประกาศสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไข การจัดระบบองค์การของผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐานเกี่ยวกับกรรมวิธี หรือกระบวนการจัดการที่เกี่ยวกับสินค้าเกษตร พ.ศ. 2555 ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2555 ต่อมา มกอช. ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การรับรองดังกล่าว โดยจัดทำเป็นประกาศสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง ระเบียบปฏิบัติสำหรับการรับรองมาตรฐาน (Certification Scheme; CS) การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Pratices; GAP) และการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (Good Aquaculture Practices; GAqP) โดยครอบคลุม 5 ขอบข่าย ดังนี้
1. การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีด้านพืชและเห็ด
2. การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีด้านปศุสัตว์
3. การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี
4. การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีด้านแมลง
5. การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงที่ดีด้านสาหร่าย
ระเบียบปฏิบัติสำหรับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรฉบับนี้ ประกอบด้วย 3 ส่วนและ 9 ภาคผนวก ดังนี้
ส่วนที่ 1 | วัตถุประสงค์และขอบข่าย เนื้อหาประกอบด้วย : |
1. วัตถุประสงค์ของระเบียบปฏิบัติสำหรับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร 2. ขอบข่ายสำหรับการให้การรับรอง |
|
ส่วนที่ 2 | ข้อกำหนดสำหรับผู้ขอการรับรองหรือผู้ได้รับการรับรอง เนื้อหาประกอบด้วย : |
1. ข้อกำหนดทั่วไป 2. ประเภทผู้ขอการรับรอง 3. สิทธิและหน้าที่ของผู้ขอการรับรองหรือผู้ได้รับการรับรอง 4. คุณสมบัติของผู้ขอการรับรอง 5. การขอรับการตรวจประเมินจากหน่วยรับรอง 6. การขยายหรือลดขอบข่ายการรับรอง 7. สถานะการรับรอง 8. การขอโอนย้ายหน่วยรับรอง |
|
ส่วนที่ 3 | ข้อกำหนดสำหรับหน่วยรับรอง เนื้อหาประกอบด้วย : |
1. ข้อกำหนดทั่วไป 2. คุณสมบัติของผู้ตรวจประเมิน หัวหน้าผู้ตรวจประเมิน และผู้เชี่ยวชาญ 3. หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ตรวจประเมินและหัวหน้าผู้ตรวจประเมิน 4. กระบวนการตรวจประเมิน 5. การลดขอบข่าย การพักใช้ การยกเลิก และการเพิกถอนการรับรอง 6. การร้องเรียนและการอุทธรณ์ 7. สถานะการรับรอง 8. การดำเนินการในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 9. ช่วงเวลาปรับเปลี่ยน 10. การชักตัวอย่างเพื่อการวิเคราะห์ 11. การตรวจประเมินกรณีพิเศษ 12. การเผยแพร่ข้อมูลและการสื่อสาร 13. ค่าบริการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร |
ภาคผนวก ประกอบด้วย :
ภาคผนวก ก | หน่วยงานที่ให้ข้อเสนอแนะในการจัดทำร่างระเบียบปฏิบัติสำหรับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี |
ภาคผนวก ข | ข้อมูลและเอกสารประกอบการยื่นคำขอการรับรอง |
ภาคผนวก ค | ระบบควบคุมภายใน (Internal Control System; ICS) |
ภาคผนวก ง | หน้าที่ความรับผิดชอบและคุณสมบัติของผู้ตรวจประเมินภายในและคณะกรรมการรับรองของ ผู้ขอการรับรองแบบกลุ่ม และแบบที่มีหลายสาขาหรือหลายพื้นที่ |
ภาคผนวก จ | แนวทางการพิจารณาความเสี่ยง ประเภทของการตรวจวิเคราะห์ และวิธีการชักตัวอย่าง |
ภาคผนวก ฉ | การกำหนดจำนวนสมาชิกที่ต้องตรวจประเมิน |
ภาคผนวก ช | คุณสมบัติของผู้ตรวจประเมิน หัวหน้าผู้ตรวจประเมิน ผู้เชี่ยวชาญ และหลักเกณฑ์การเลือก |
ภาคผนวก ซ | รายชื่อมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี |
ภาคผนวก ฌ | รายชื่อประกาศสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการจัดระบบองค์กรของผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐานเกี่ยวกับกรรมวิธี หรือกระบวนการจัดการที่เกี่ยวกับสินค้าเกษตร: สำหรับหลักเกณฑ์การรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ที่ระบุระดับของข้อกำหนดและเกณฑ์การตัดสินความสอดคล้อง |
วันที่ประกาศ : | 28 Jun 2567 |
---|---|
วันที่มีผลบังคับใช้ : | 1 Jul 2567 |
ไฟล์ประกาศ : |