มกอช.ร่วมลงพื้นที่ติดตามการตรวจราชการของศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายอิทธิ ศิริลัทยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ ณ จังหวัดตราด

13 Mar 2568
111
มกอช.ร่วมลงพื้นที่ติดตามการตรวจราชการของศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายอิทธิ ศิริลัทยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ ณ จังหวัดตราด

        วันที่ 13 มีนาคม 2568  นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ร่วมลงพื้นที่ตรวจราชการของศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่พบปะเกษตรกรและรับฟังปัญหาข้อเสนอแนะด้านการเกษตร เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนอย่างยั่งยืนพร้อมเยี่ยมชมนิทรรศการของหน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรฯ และมอบประกาศเกียรติคุณรวมถึงปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ โดยมีผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องถิ่นและเกษตรกรกว่า 1,200 รายเข้าร่วม ณ ศาลาอเนกประสงค์ วัดเทพนิมิตต.เทพนิมิต อ.เขาสมิง จ.ตราด
       ศ.ดร.นฤมล ได้กล่าวถึงการบริหารจัดการผลไม้ในปี 2568 ด้วยว่าในเรื่องนี้นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ 5 กระทรวงบูรณาการทำงานร่วมกันบริหารจัดการผลไม้ที่มีแนวโน้มผลผลิตเพิ่มขึ้นในปีนี้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาผลผลิตล้นตลาดราคาตกต่ำโดยในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำชับให้ดูแลคุณภาพผลไม้ไทยให้มีมาตรฐานมีความปลอดภัยและได้มาตรฐานการส่งออกกระทรวงพาณิชย์ส่งเสริมการตลาดการบริโภคภายในประเทศกระทรวงคมนาคมเตรียมพร้อมด้านระบบขนส่งสินค้าให้มีประสิทธิภาพคล่องตัวมากขึ้นนอกจากนี้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมที่กำกับดูแลไปรษณีย์ไทยจัดทำโครงการที่ช่วยส่งผลไม้จากสวนไปยังผู้บริโภคโดยตรงและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมสนุบสนุนอีกด้วย
       “สำหรับปัญหาการปนเปื้อน Basic Yellow 2 (BY2) และแคดเมียมในทุเรียนไทยนั้นกระทรวงเกษตรฯไม่นิ่งนอนใจเราได้เพิ่มมาตรการเข้มข้นและได้สั่งการให้กรมวิชาการเกษตรและสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กำกับติดตามควบคุมมาตรฐานสินค้าผักและผลไม้ในโรงคัดบรรจุอย่างใกล้ชิดนอกจากนั้นยังได้ประสานไปยังกระทรวงพาณิชย์เพื่อส่งเสริมให้มีการขยายตลาดไปยังประเทศอื่นโดยแปรรูปจากทุเรียนผลสดเพื่อให้มีตลาดรองรับมากยิ่งขึ้น“ศ.ดร.นฤมลกล่าว