โครงการสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน

วัตถุประสงค์ของโครงการ

โครงการสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน เป็นโครงการที่ มกอช. ดำเนินการเพื่อการส่งเสริมสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองอย่างถูกต้องตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ทั้งมาตรฐานระดับประเทศ (Organic Thailand) และมาตรฐานที่เทียบเท่ากับมาตรฐานระดับประเทศ เช่น IFOAM สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เป็นต้น รวมถึงสินค้าเกษตรอินทรีย์ PGS ให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อและสร้างความเชื่อมั่นต่อสินค้าอินทรีย์ที่เข้าร่วมโครงการกับกระทรวงเกษตรฯ เนื่องจากพบว่าในปัจจุบันมีสินค้าที่แสดงเครื่องหมายว่าเป็นสินค้าอินทรีย์ในท้องตลาดจำนวนมากแต่ไม่มีใครทราบว่าสินค้าอินทรีย์ดังกล่าวเป็นสินค้าอินทรีย์ที่ผลิตจากระบบเกษตรอินทรีย์จริง มีการรับรองจริง หรือมาจากการผลิตแบบปกติแต่แอบอ้างติดฉลากอินทรีย์

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. สถานที่จำหน่ายมีความรู้ความเข้าใจเรื่องมาตรฐาน การผลิต และการแสดงฉลาก เกษตรอินทรีย์มากขึ้น

2. ผู้บริโภคได้มีช่องทางในการเลือกซื้อสินค้าอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัย สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ และสร้างความเชื่อมั่นต่อสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ผ่านการรับรอง

หลักเกณฑ์เงื่อนไขการตรวจรับรองสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ภายใต้โครงการ

1. สถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง ถาวร

2. เป็นสถานที่จำหน่ายที่มีสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานวางจำหน่ายไม่น้อยกว่า 20 รายการ

3. มีเจ้าหน้าที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องสินค้าเกษตรอินทรีย์

4. สินค้าอินทรีย์ต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน

4.1 มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทย (มกษ.9000)

4.2 มาตรฐานระหว่างประเทศ (เช่น Codex, IFOAM)

4.3 มาตรฐานกลุ่มประเทศหรือมาตรฐานประเทศ (เช่น สหภาพยุโรป อาเซียน สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น)

4.4 ได้รับการรับรองตามระบบ PGS (ภายใต้เงื่อนไขที่ มกอช. กำหนดสำหรับการเข้าร่วมโครงการ)

5. การจัดเรียงสินค้าจะต้องแยกออกจากสินค้าที่ไม่ใช่เกษตรอินทรีย์อย่างเป็นสัดส่วนไม่ปะปนกับสินค้าที่ไม่ใช่เกษตรอินทรีย์

รายชื่อเครือข่าย PGS ที่ มกอช. ให้การยอมรับ

รายชื่อเครือข่าย PGS ที่ มกอช. ให้การยอมรับ ภายใต้โครงการสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน

                ด้วยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ได้ดำเนินโครงการสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่เชื่อถือได้ให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อและสร้างความเชื้อมั่น โดย มกอช. ได้จัดประชุมหารือโครงการฯ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสถานที่จำหน่ายขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก รวมทั้งโมเดิร์นเทรด แล้ว เมื่อวันที่ 16 และ 27 มิถุนายน 2560 โดยที่ประชุมเห็นชอบให้สินค้าที่ได้รับการรับรองตามระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (Participatory Guarantee Systems; PGS) สามารถเข้าร่วมโครงการได้ แต่ต้องเป็นระบบ PGS ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ มกอช. กำหนด หรือเป็นระบบ PGS ที่ได้รับการยอมรับจากองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

                1. เป็นระบบ PGS ที่อ้างอิงมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ระดับประเทศหรือสากล ได้แก่
                   1.1  มาตรฐานประเทศไทย ได้แก่ มกษ. 9000 หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า
                   1.2  มาตรฐานระหว่างประเทศ เช่น Codex, IFOAM หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า
                   1.3  มาตรฐานกลุ่มประเทศหรือมาตรฐานประเทศที่มีความสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศและเป็นที่ยอมรับ และมีสินค้าที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานดังกล่าวจำหน่ายอย่างแพร่หลายในประเทศ เช่น สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น กรณีมาตรฐานอื่นนอกจากนี้จะพิจารณาเป็นกรณีไป

                2. มีการควบคุมภายในสำหรับการรับรองแบบกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ
                   ที่อย่างน้อยต้องประกอบด้วย โครงสร้างและการบริหารงานของกลุ่ม เอกสารระบบคุณภาพการดำเนินงานของกลุ่ม การตรวจประเมินคุณภาพภายในกลุ่มผู้ผลิต กฎระเบียบของกลุ่ม และการฝึกอบรมสมาชิก

                3. มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมในการตัดสินให้การรับรองของสมาชิกกลุ่ม

                    มกอช. พิจารณาแล้วเห็นชอบรายชื่อเครือข่าย PGS ที่ มกอช. ให้การยอมรับสำหรับเข้าร่วมโครงการสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน จำนวน 3 เครือข่าย ได้แก่
                      1. เครือข่ายของมูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย (Thai Organic Agriculture Foundation : TOAF)
                      2. เครือข่ายของมูลนิธิสายใยแห่งแผ่นดิน (Thai PGS Organic Plus)
                      3. เครือข่ายของเลมอนฟาร์ม (Lemon Farm ORGANIC-PGS : LF-PGS)

 

 

( ปรับปรุง 19 ม.ค. 2565 )
หากมีปัญหาหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับโครงการฯ กรุณาติดต่อ:
กลุ่มมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ สำนักกำหนดมาตรฐาน สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
โทร. 0 2561 2277 ต่อ 1422

ปีงบประมาณ 2567

1. มีสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองให้เป็นสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน จำนวน 20 แห่ง รวม 430 สาขา ได้แก่

สถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ จำนวนสาขา
ที่สมัครเข้าร่วมโครงการ
1. บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล (Tops) 163
2. บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) (Makro) 155
3. บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์มาร์เก็ต จำกัด (มหาชน) 42
4. บริษัท สังคมสุขภาพ จำกัด (เลมอนฟาร์ม) 16
5. บริษัท ตัณตราภัณฑ์ซุปเปอร์มาร์เก็ต (1994) จำกัด (ริมปิงซุปเปอร์มาร์เก็ต) 8
6. บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด 7
7. บริษัท แดรี่โฮม ออร์แกนิค เอ้าท์เลท 1
8. บริษัท ฟู้ดแลนด์ซุปเปอร์มาร์เก็ต จำกัด 25
9. จริงใจ Farmers Market เชียงใหม่ 1
10. องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) 1
11. กลุ่มข้าวคุณธรรม ตลาดเขียวยโสธร 1
12. ร้านสุดคุ้ม ออร์แกนิค ฟู้ด 1
13. Q-Shop Farm Outlet ร้านจำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชนและอาหารปลอดภัย จังหวัดกาฬสินธุ์ 1
14. บริษัท กสิกรรมไร้สารพิษละโว้ธานี จำกัด 1
15. ร้านล้านปันสุข 1
16. ร้านออร์แกนิค ฟาร์มเอ้าท์เลท อุทยานบัว จังหวัดสกลนคร 1
17. ตลาดเกษตรอินทรีย์วิถีหัวหิน 1
18. ร้าน Organic Village 2
19. บริษัท ทรอปิคานา ออยล์ จำกัด 1
20. บริษัท ภูเชียงทา เฮิร์บแลนด์ จำกัด 1
รวม 430

รายละเอียดสาขาที่ได้รับการรับรอง  ]

2. สุ่มเก็บตัวอย่างสินค้าเกษตรอินทรีย์จากสถานที่จำหน่ายฯ ที่ยื่นขอการรับรอง จำนวน 60 ตัวอย่าง แบ่งเป็น พืช ผัก ผลไม้และผลิตภัณฑ์ จำนวน 55 ตัวอย่าง สินค้าปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ จำนวน 3 ตัวอย่าง และสินค้าประมงและผลิตภัณฑ์ จำนวน 2 ตัวอย่าง ตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารพิษตกค้างและปริมาณยาสัตว์ตกค้าง เพื่อการตรวจสอบย้อนกลับ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิต สถานที่จำหน่าย และผู้บริโภค ทำให้สามารถเลือกซื้อและจำหน่ายสินค้าอินทรีย์ที่มีมาตรฐานและได้รับการรับรองอย่างถูกต้อง ปลอดภัย

ปีงบประมาณ 2566

1. มีสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองให้เป็นสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน จำนวน 17 แห่ง รวม 416 สาขา ได้แก่

สถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ จำนวนสาขา
ที่สมัครเข้าร่วมโครงการ
1. บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด 7
2. บริษัท แดรี่โฮม ออร์แกนิค เอ้าท์เลท 1
3. บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล (ท็อปส์)  165
4. บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) 42
5. บริษัท สังคมสุขภาพ จำกัด (เลมอนฟาร์ม) 16
6. บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) 146
7. บริษัท ตันตราภัณฑ์ซุปเปอร์มาร์เก็ต (1994) จำกัด (ริมปิงซุปเปอร์มาร์เก็ต) 7
8. บริษัท ฟู้ดแลนด์ซุปเปอร์มาร์เก็ต จำกัด 23
9. จริงใจ Famers Market เชียงใหม่ 1
10. องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) โซนตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ 1
11. กลุ่มข้าวคุณธรรม ตลาดเขียวยโสธร จังหวัดยโสธร 1
12. ร้านสุดคุ้ม ออร์แกนิค ฟู้ด จังหวัดยโสธร 1
13. บริษัท กสิกรรมไร้สารพิษละโว้ธานี จำกัด จังหวัดลพบุรี 1
14. ร้านล้านปันสุข จังหวัดสุพรรณบุรี 1
15. Q-shop Farm Outlet ร้านจำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชนและอาหารปลอดภัย จังหวัดกาฬสินธุ์ 1
16. ร้านออร์แกนิค ฟาร์มเอ้าท์เล็ท อุทยานบัว จังหวัดสกลนคร 1
17. ตลาดเกษตรอินทรีย์วิถีหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 1
รวม 416

[ รายละเอียดสาขาที่ได้รับการรับรอง ]

2. สุ่มเก็บตัวอย่างสินค้าเกษตรอินทรีย์จากสถานที่จำหน่ายฯ ที่ยื่นขอการรับรอง จำนวน 35 ตัวอย่าง แบ่งเป็น พืช ผัก ผลไม้และผลิตภัณฑ์ จำนวน 30 ตัวอย่าง สินค้าปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ จำนวน 3 ตัวอย่าง และสินค้าประมงและผลิตภัณฑ์ จำนวน 2 ตัวอย่าง ตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารพิษตกค้างและปริมาณยาสัตว์ตกค้าง เพื่อการตรวจสอบย้อนกลับ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิต สถานที่จำหน่าย และผู้บริโภค ทำให้สามารถเลือกซื้อและจำหน่ายสินค้าอินทรีย์ที่มีมาตรฐานและได้รับการรับรองอย่างถูกต้อง ปลอดภัย

ปีงบประมาณ 2565

1. มีสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองให้เป็นสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน จำนวน 18 แห่ง รวม 502 สาขา ได้แก่

สถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ จำนวนสาขา
ที่สมัครเข้าร่วมโครงการ
1. บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด 6
2. บริษัท แดรี่โฮม ออร์แกนิค เอ้าท์เลท 1
3. บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล (ท็อปส์)  278
4. บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) 25
5. บริษัท สังคมสุขภาพ จำกัด (เลมอนฟาร์ม) 17
6. บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) 137
7. บริษัท ตันตราภัณฑ์ซุปเปอร์มาร์เก็ต (1994) จำกัด (ริมปิงซุปเปอร์มาร์เก็ต) 8
8. บริษัท ฟู้ดแลนด์ซุปเปอร์มาร์เก็ต จำกัด 20
9. จริงใจ Famers Market เชียงใหม่ 1
10. องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) โซนตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ 1
11. กลุ่มข้าวคุณธรรม ตลาดเขียวยโสธร 1
12. ร้านสุดคุ้ม ออร์แกนิค ฟู้ด 1
13. บริษัท กสิกรรมไร้สารพิษละโว้ธานี จำกัด 1
14. ร้านล้านปันสุข 1
15. Q-shop Farm Outlet ร้านจำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชนและอาหารปลอดภัย จังหวัดกาฬสินธุ์ 1
16. ร้านออร์แกนิค ฟาร์มเอ้าท์เล็ท อุทยานบัว จังหวัดสกลนคร 1
17. ร้านภูรี ออร์แกนิค มาร์เก็ต 1
18. Amazone Organic Farm Outlet 1
รวม 502

[ รายละเอียดสาขาที่ได้รับการรับรอง ]

2. สุ่มเก็บตัวอย่างสินค้าเกษตรอินทรีย์จากสถานที่จำหน่ายฯ ที่ยื่นขอการรับรอง จำนวน 80 ตัวอย่าง แบ่งเป็น พืช ผัก ผลไม้และผลิตภัณฑ์ จำนวน 70 ตัวอย่าง สินค้าปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ จำนวน 8 ตัวอย่าง และสินค้าประมงและผลิตภัณฑ์ จำนวน 2 ตัวอย่าง ตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารพิษตกค้างและปริมาณยาสัตว์ตกค้าง เพื่อการตรวจสอบย้อนกลับ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิต สถานที่จำหน่าย และผู้บริโภค ทำให้สามารถเลือกซื้อและจำหน่ายสินค้าอินทรีย์ที่มีมาตรฐานและได้รับการรับรองอย่างถูกต้อง ปลอดภัย รายละเอียดสาขาที่ได้รับการรับรองภายใต้โครงการสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน ปี 2565

ปีงบประมาณ 2564

1. ผลการดำเนินงานปีงบประมาณ 2564 ที่ผ่านมามีสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองให้เป็นสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน จำนวน 11 แห่ง รวม 434 สาขา โดยสินค้าอินทรีย์นั้นเป็นสินค้าที่มาจากแปลงเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรอง มีการแสดงฉลากที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในมาตรฐาน ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามหลักการเกษตรอินทรีย์ ได้แก่

สถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ จำนวนสาขา
ที่สมัครเข้าร่วมโครงการ
1. เดอะมอลล์ กรุ๊ป 6
2. แดรี่โฮม ออร์แกนิค เอ้าท์เลท 1
3. เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล (ท็อปส์ มาร์เก็ต) 239
4. บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์  20
5. สังคมสุขภาพ (เลมอนฟาร์ม) 16
6. สยามแม็คโคร  126
7. ตันตราภัณฑ์ซุปเปอร์มาร์เก็ต (ริมปิงซุปเปอร์มาร์เก็ต) 8
8. ฟู้ดแลนด์ซุปเปอร์มาร์เก็ต 15
9. จริงใจ Famers Market เชียงใหม่ 1
10. องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) โซนสินค้าเกษตรอินทรีย์ 1
11. ตลาดเขียวยโสธร 1
รวม 434

[ รายละเอียดสาขาที่ได้รับการรับรอง ]

2. สุ่มเก็บตัวอย่างสินค้าเกษตรอินทรีย์จากสถานที่จำหน่ายฯ ที่ยื่นขอการรับรอง จำนวน 210 ตัวอย่าง แบ่งเป็น พืช ผัก ผลไม้และผลิตภัณฑ์ จำนวน 190 ตัวอย่าง สินค้าปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ จำนวน 18 ตัวอย่าง และสินค้าประมงและผลิตภัณฑ์ จำนวน 2 ตัวอย่าง ตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารพิษตกค้างและปริมาณยาสัตว์ตกค้าง เพื่อการตรวจสอบย้อนกลับ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิต สถานที่จำหน่าย และผู้บริโภค ทำให้สามารถเลือกซื้อและจำหน่ายสินค้าอินทรีย์ที่มีมาตรฐานและได้รับการรับรองอย่างถูกต้อง ปลอดภัย